เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 12 ต.ค. ที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) นายปัญญา เลิศหงิม นายกสมาคมรถตู้โดยสารสาธารณะ กรุงเทพฯ ปริมณฑลพร้อมสมาชิกจำนวน 20-30 คน มายื่นหนังสือถึงนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดี ขบ. และขอเข้าพบเพื่อปรึกษาผลกระทบซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับรถตู้ โดยมีนายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดี ขบ. และโฆษก ขบ. เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายปัญญา เปิดเผยว่า ผลกระทบซึ่งเกิดจากคำสั่งที่ให้หน่วยรถโดยสารสาธารณะปฏิบัติตาม ได้ก่อให้เกิดภาระหนี้จำเป็นจ่ายรายวัน ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการในแต่ละภาคส่วนในสภาวะที่แตกต่างกัน เมื่อนำมารวบรวมกันแล้ว ผลสรุปของปัญหาที่เกิดขึ้นจนเกิดผลกระทบต่อเนื่อง ยังหาแนวทางแก้ไขไม่ได้ แต่ความเป็นอยู่ที่กลุ่มผู้ประกอบการสาธารณะ ต้องประสบอยู่ในขณะนี้ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ในทางกลับกันก็ไม่สามารถหยุดการดำเนินกิจการของตนเองได้เช่นกัน วันนี้จึงขอเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้น ควรแก้ไขปรับปรุง หรืออนุโลมได้ในสภาวะปัจจุบัน จำนวน 5 ข้อดังนี้
1.การดำเนินการตามคู่สัญญา ภาระของรถหมวด 1 ที่เกิดขึ้นจากการต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก และคู่สัญญาเดินรถร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เมื่ออายุรถครบ 10 ปี จะต้องดำเนินการเปลี่ยนรถใหม่ทดแทนคันเดิม ซึ่งในสภาวะเช่นนี้มีความเสี่ยงสูงมาก
2.รถที่ออกทดแทนไม่สามารถต่อภาษีรถได้ เนื่องจากเป็นเส้นทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งไม่ใช้ข้อกำหนดตามระเบียบของการเปลี่ยนรถทดแทน แต่เป็นภาระให้กับผู้ประกอบการ ที่ยังคงต้องรับภาระค่างวดรถ กับเส้นทางที่โดนระบุ รวมทั้งการต่อภาษีประจำปีก็ไม่ได้
3.ค่าตอบแทนกับรถที่แจ้ง ม.79 ยกเลิกการใช้งานแล้ว ระบุคือค่าตอบแทนที่เรียกเก็บกับรถคันเดิม ทั้งที่เปลี่ยนรถเป็นคันใหม่แล้วก็ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องทั้งที่ชำระเป็น 0 ถอดรถออกแล้วยังคงมีใบเรียกเก็บค่าตอบแทนอยู่ จะแก้ไขอย่างไร กรณีนี้ เจ้าหน้าที่ หรือระบบไม่สามารถแยกสถานะของผู้ประกอบการได้เลยหรืออย่างไร กรณีที่กระทำการใดๆ ต้องชำระค่าตอบแทนก่อนจึงทำการปลดรถ เปลี่ยนรถ แจ้งถอนรถออกจากระบบ และจะต้องไม่มียอดค้างชำระค่าตอบแทนในทุกกรณี
4.การจดทะเบียนล่าช้า ในกรณีที่รถตู้จะดำเนินการเปลี่ยนจากป้ายแดงเป็นป้ายสาธารณะ (ป้ายเหลือง) ล่าช้า 1-2 ปี ซึ่งมีผู้ประสบปัญหา 100 กว่าคัน จากที่มีจำนวนรถตู้ที่ให้บริการหมวด 1 ทั้งหมด 1,500 คัน ดังนั้นทำให้รถตู้ที่นำมาบรรจุในเส้นทางต้องโดนเจ้าหน้าที่สายตรวจ ทั้งกองตรวจการขนส่งทางบก และตำรวจ แจ้งจับ ปรับ ถือเป็นการสูญเสียรายได้ที่ซ้ำซ้อน ในสภาวะสถานการณ์ที่หารายได้ค่อนข้างลำบาก มีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
และ 5.รถที่มีอายุครบ 10 ปี ยังไม่มีมาตรการแก้ไขที่ชัดเจน ซึ่งรถในส่วนนี้มีการต่อภาษีได้บ้างในบางส่วน เนื่องจากได้รับการเยียวยา 1 รอบภาษี แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย วิ่งปะปนอยู่ ซึ่งรถกลุ่มนี้ไม่มีการต่อภาษี ไม่มี พ.ร.บ. ไม่มีประกัน แต่ยังคงวิ่งรับ ส่งผู้โดยสารอยู่
ดังนั้นอยากให้มีการแก้ไขและตรวจสอบ ประสานการทำงานอย่างจริงจังกว่านี้ ไม่ใช่ประสานเจ้าหน้าที่มา จับ ปรับ ปลด อย่างเดียวที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รถที่ทำถูกต้องจะต้องมาร่วมเดือดร้อนไปด้วย เพราะการแก้ไขที่ไม่ตรงจุด หากมีการวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขอย่างจริงจังจะรู้สาเหตุหลายประการ และแก้ไขได้ตรงจุด จากที่ผ่านมากลุ่มรถตู้ประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง หลังจากเจอผลกระทบโรคระบาด การปิดพื้นที่ตามประกาศของภาครัฐ ผ่านไปยังมาเจอปัญหาค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นค่างวดรถที่แพงขึ้นเท่าตัว เพราะต้องเปลี่ยนรถตามนโยบาย สภาวะขาดทุนเกิดขึ้นจนต้องคืนรถ และยอมรับสภาพหนี้ไปพร้อมกับการหมดอาชีพ เป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่องกับอาชีพผู้ประกอบการรถตู้รายย่อย
ด้านนายเสกสม กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ขสมก. ตำรวจ และ ผู้ประกอบการรถตู้ มาประชุมแนวทางแก้ไขร่วมกัน ถ้าได้ข้อสรุปแล้วรายงานกระทรวงคมนาคมให้ทราบต่อไป